top of page

แม่น้ำประแสร์

เส้นเลือดใหญ่ที่สำคัญของเมือง ชื่อของประแสร์ บ้างก็ว่ามาจากคำว่ากระแสน้ำ จึงมีการเปลี่ยนชื่อจากเดิมคือประแสร์ เป็นกระแส แต่ชาวบ้านยังเรียกตัวเองว่าชาวประแสร์ บ้านที่แม่น้ำประแสร์ ไหลผ่านคือ บ้านกระแสบนและกระแสล่าง แต่เมื่อผ่านตลาดสามย่าน จะเรียกว่าคลองสามย่าน ส่วนคำว่าประแสร์ที่เป็น “ร์” นั้น ท่านพระครูประภัทรวิริยคุณ และ นายระวี ปัญญายิ่ง ได้เดินทางไปสอบถามผู้มีเชื้อสายชองในเขตตำบลพลวง , ตะเคียนทอง , คลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี จากการสอบถามได้ความตรงกันว่าในภาษาชอง มีคำว่า "แซร์" หมายถึง ทุ่งนา "พรีแซร์ หรือ ปรีแซร์" หมายถึง ทุ่งนา คือป่าที่ถางแล้วและใช้ปลูกข้าว ถ้าเป็นที่ดอนก็ทำไร่ปลูกข้าว ถ้าเป็นที่ลุ่มก็ทำนาปลูกข้าว หากคำว่า "ประแส" มีรากฐานมาจากภาษา "ชอง" ดังกล่าวจะต้องเขียนตามศัพท์เดิมว่า "ประแสร์" มี ร การันต์ จึงจะมีความหมายว่า "ทุ่งนา" หรือ "ป่าทุ่งนา คลองประแสร์มีความยาวประมาณ 26 กิโลเมตร ต้นน้ำประแสร์เกิดจากคลองหลายสายไหลรวมกัน แต่สายหลักคือคลองไผ่ซึ่งไหลมาจากเขาชะเมา แม่น้ำประแสร์ไหลลงสู่ทะเล ที่หมู่บ้านปากน้ำประแสร์

bottom of page